วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สืบสานวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวมอญ

   

สืบสานวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวมอญ
             ภายในลานวัฒนธรรมมีการแสดงย้อนยุคของวิถีชีวิตชาวมอญ โดยโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว  เป็นการแสดงจากนักเรียนซึ่งมีความสวยงามมากและก็น่าชื่นชม  ครูบาอาจารย์และโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ที่ได้พยายามรักษาวัฒนธรรมอันเก่าแก่และได้ถ่ายทอดแก่เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา

สืบสานวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวมอญ
วิถีชีวิตชาวมอญ
          มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่งในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณพม่าตอนล่าง ชนชาติมอญเป็นผู้วางรากฐานทางด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี อักษรศาสตร์ สถาปัตยกรรม กฎหมายและนาฏศิลป์ดนตรี เป็นมรดกตกทอดมายังหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เช่น พม่า ไทย ลาว และกัมพูชา ทุกวันนี้ชนชาติมอญไม่มีอาณาเขตประเทศปกครองตนเอง เนื่องจากในอดีตบ้านเมืองตกอยู่ในภาวะสงครามมาโดยตลอด ทั้งการแย่งชิงราชสมบัติกันเองและจากการรุกรานของพม่าข้าศึก เมื่อบ้านเมืองตกเป็นของข้าศึกศัตรู ชาวมอญจึงถูกกดขี่ทารุณกรรมอย่างแสนสาหัส การเกณฑ์แรงงานเพื่อทำการเกษตรสะสมเสบียงกรังเข้ารัฐ งานก่อสร้างและระดมพลในกองทัพโดยเฉพาะสงครามเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ เป็นสงครามครั้งสุดท้ายที่มอญต้องเสียแผ่นดินให้แก่พม่าอย่างเด็ดขาด ไม่สามารถทวงคืนกลับมาได้อีกเลย ชาวมอญส่วนหนึ่งจึงอพยพโยกย้ายเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินไทยชาวมอญตั้งบ้านเรือนอยู่ทั่วไปตามที่ราบลุ่มริมน้ำภาคกลาได้แก่ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ สมุทรสาคร กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ (โดยมากเป็นแหล่งที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดฯ พระราชทานที่ดินทำกินให้แต่แรกอพยพเข้ามา) และบางส่วนตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปางตาก กำแพงเพชร นครสวรรค ์ อุทัยธานี  (เขตเมืองที่อยู่ติดชายแดนไทย-มอญ) ทางอีสานได้แก่ นครราชสีมา มีบ้างเล็กน้อยที่อพยพลงใต้ อย่าง ชุมพร สุราษฎร์ธานี 

ชาวไทยเชื้อสาย มอญ ในพระประแดง ได้รับการยอมรับให้ทำราชการ ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนประกอบอาชีพได้อิสระ ชนชั้นปกครองของไทยเองก็ไม่ได้มองว่า มอญเป็นชาวต่างชาติ ชาวมอญมีสิทธิเช่นเดียวกับชาวไทยทุกประการ หากชาวมอญ ทำเรื่องเสื่อมเสียก็ย่อมส่งผลถึงชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของชาวไทยโดยรวม ดังปรากฏในพระราชกำหนดสมัย อยุธยา โดยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๖ ดังกรณีเจ้าแม่วัดดุสิต หรือ หม่อมเจ้าหญิงอำไพ  ราชธิดาของ สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ซึ่งสมรสกับขุนนางผู้สืบตระกูลมาจากนายทหาร มอญที่ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเข้ามา บุตรของเจ้าแม่วัดดุสิตคือเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)  ผู้เป็น บรรพชนของพระปฐมบรมราชชนกในจักรีวงศ์ ทำให้ชาวมอญและชาวไทยมีความกลมกลืนใกล้ชิด ทั้งด้านเชื้อชาติ และวัฒนธรรม


ด้วยความที่ ชาวมอญ และชาวไทยมีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกัน วัฒนธรรมประเพณีที่เข้ากันได้แบบแนบสนิท อีกทั้งความเจริญของบ้านเมือง และเทคโนโลยีสารสนเทศน์ ทำให้ชาวมอญพระประแดงทุกวันนี้ ถูกกลืนเป็นไทยเสียโดยมาก 








แต่ทว่ายังเป็นความโชคดี ที่คนกลุ่มหนึ่งมีความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี และภาษาของชาวมอญพระประแดงให้คงอยู่ รวมทั้งทางราชการก็ให้ความสนใจและส่งเสริม ในทุกวันนี้ เราจึงยังคงมีโอกาสได้ยินเสียงลูกหลานชาวพระประแดงท่องอักขระมอญ เห็นประเพณีสงกรานต์มอญพระประแดงที่ลือชื่อ เป็นงานใหญ่ระดับชาติ ที่คนมอญทั่วประเทศภาคภูมิใจ




         อาหาร  อาหารการกินของผู้คนในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกัน  เพราะมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน อาหารหลักของมอญ คือ ข้าวสวยกินกับแกง เช่น แกงกระเจี๊ยบ แกงมะตาด แกงลูกมะสั้น แกงมะรุม แกงขี้เหล็ก แกงบอน  น้ำพริก และปลาร้ามอญ อาหารที่ขึ้นชื่อของคนมอญ ๒ ชนิด ในความนิยมของคนไทย เป็นอาหารที่แต่เดิมคนมอญทำกันยามมีงานบุญสำคัญ ได้แก่ ขนมจีนและ ข้าวแช่ที่ทำในช่วงสงกรานต์  
  
       มอญรำ เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงและเก่าแก่ของมอญ มักแสดงในงานสำคัญๆ เช่น ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง รำหน้าศพ ซึ่งการรำที่อาศัยตะโพนเป็นหลัก ชาวมอญมีชื่อเสียงเรื่องปี่พาทย์และมอญรำอย่างมาก มักจัดให้มีการแสดงมอญรำด้วยทุกครั้ง เพราะถือว่าเป็นการแสดงชั้นสูง







           ปี่พาทย์มอญ ได้แก่ วงเครื่องใหญ่ วงเครื่องคู่ และวงเครื่องห้า เครื่องดนตรีหลักประกอบด้วย ฆ้องมอญ ระนาดเอก ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก  ฉิ่ง กรับไม้ไผ่  ปี่พาทย์มอญ นิยมเล่นทั้งงานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป












           ชาวมอญ ให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์ ในฐานะวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งอยู่ในช่วงวันที่ ๑๓๑๗ เมษายนของทุกปี ช่วงเช้าจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด จะมีการสร้างโรงพิธีขึ้นโดยต่อรางน้ำยาวๆออกมาจากโรงพิธี เพื่อให้ชาวบ้านที่อยู่สองฟากเทน้ำลงรางพร้อมๆกัน สายน้ำจะไหลตามรางสู่โรงพิธี เป็นการป้องกันความชุลมุน หากเข้าไปสรงน้ำกับพระสงฆ์โดยตรง










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น