วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประเพณีรับบัวโยนบัววัดบางพลีใหญ่ใน 1เดียวมรดกโลก


 

ร่วมสืบสานประเพณีรับบัวและโยนบัววัดบางพลีใหญ่ใน 1 เดียวในมรดกโลก
ประเพณีรับบัววัดบางพลีใหญ่ใน
                                                                                                       
พระกริ่งหลวงพ่อโตรุ่นมหามงคลนพเก้า

       ประเพณีรับบัววัดบางพลีใหญ่ใน หรือวัดหลวงพ่อโต ปี พ.ศ. 2554 นั้นทางวัดได้เริ่มติดป้ายประชาสัมพันธ์ ตามสถานที่ต่างๆ โดยกำหนดงานรับบัวเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม ถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2554 เป็นวันโยนบัว  และในปีนี้ มีพิเศษตรงที่จะมีพิธีมหาพุทธภิเษก พระกริ่งหลวงพ่อโตรุ่นมหามงคลนพเก้า ร่วมกันปลุกเสกโดยมหาเถราจาร์ยดัง 39 รูป วันที่ 30 กันยายน 2554
หลวงพ่อโตและประวัติรับบัว

ประเพณีรับบัว

       เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวบางพลี จ.สมุทรปราการ และเป็นประเพณี 1 เดียวในโลก โดยจัดงานขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เป็นประจำของทุกปี
                ในสมัยก่อน อำเภอบางพลีมีประชาชนอาศัยอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม คือ ชาวไทย ชาวลาว และชาวมอญ มีวิถีการทำมาหากินต่างๆกัน ทุกคนเสมือนเป็นญาติมิตรอยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่น

ความเป็นมาของประเพณีรับบัว
ประเพณีรับบัว เกิดขึ้นเพราะความมีน้ำใจที่ดีต่อกันระหว่างคนไทยในท้องถิ่น กับคนมอญพระประแดง ชาวมอญที่ทำนาอยู่ตำบลบางแก้ว ในช่วงออกพรรษาจะกลับไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง และได้เก็บดอกบัวเพื่อบูชาพระหรือถวายแด่พระสงฆ์และฝากเพื่อนบ้าน


ในปีต่อมาชาวอำเภอเมือง และชาวอำเภอพระประแดงต่างพร้อมใจกันพายเรือ บ้างก็แจวเรือมาเก็บดอกบัวที่อำเภอบางพลี และถือโอกาสนมัสการหลวงพ่อโต ระยะทางระหว่างอำเภอบางพลีกับอำเภอพระประแดงไกลกันมาก เพื่อไม่ให้เป็นการเหนื่อย เรือแต่ละลำจะร้องรำทำเพลงมาตลอดทาง บางทีก็พายเรือหรือแจวเรือแข่งกัน ทำให้เกิดความเพลิดเพลินสนุกสนาน พอมาถึงบางพลีเป็นเวลาบ่ายหรือค่ำ จึงถือโอกาสเยี่ยมญาติหรือเพื่อนฝูง ด้วยความมีน้ำใจที่ดีต่อกันชาวพระประแดงได้นำน้ำตาล มะพร้าว หมาก มาฝากชาวบางพลี  ชาวบางพลีเองก็ได้เตรียมข้าวปลาอาหารออกมาต้อนรับ บางกลุ่มที่ไม่ค้างแรมบ้านญาติก็จะไปเที่ยวงานวัดจนสว่าง พอรุ่งเช้าของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 จึงเดินทางกลับ โดยเก็บดอกบัวจากสองฝั่งคลองสำโรงเพื่อนำไปบูชาพระและถวายพระสงฆ์ในวันออกพรรษา



ภาพประเพณีรับบัวปี พ.ศ.2477
ในระยะต่อมา ชาวบางพลีอำนวยความสะดวกให้กับชาวพระประแดง โดยเก็บดอกบัวมัดห่อด้วยใบบัวและเตรียมข้างต้มมัดไว้แจกชาวพระประแดงตอนกลับ เพื่อเป็นอาหารรับประทานขณะพายเรือกลับ การกระทำเช่นนี้ปฏิบัติมาเป็นประจำจนเป็น ประเพณีรับบัว ในที่สุด
สำหรับการแห่หลวงพ่อทางน้ำในประเพณีที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ สืบเนื่องมาจาก พ.ศ. 2467 นางจั่นกับพวกชาวบางพลี ได้ร่วมสร้างองค์ปฐมเจดีย์  ณ วัดบางพลีใหญ่ใน และจัดงานเฉลิมฉลองโดยแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์  ไปตามลำคลองสำโรง กลางคืนมีงานสมโภชน์ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นการแห่รูปหลวงพ่อโตแทนผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์  และวิวัฒนาการมาเป็นแห่องค์หลวงพ่อโตจำลอง อันเชิญไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้นมัสการ ดอกไม้ที่ใช้นมัสการ คือ ดอกบัว
ทางการได้เข้ามามีบทบาท ในการจัดงานประเพณีรับบัวเมื่อ ปี พ.ศ. 2477 โดยจัดกิจกรรมประกวดเรือประเภทต่างๆ เช่นสวยงาม ความคิด และตลกขบขัน  และเมื่อ ปี พ.ศ. 2536  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  ได้ร่วมจัดงานประเพณีรับบัวกับทางอำเภอบางพลีและเผยแพร่ไปทั่วโลก โดยเสริมกิจกรรมเน้น วิถีชีวิตชาวบางพลีในอดีต

กิจกรรมประเพณีรับบัววันที่ 8 - 11 ตุลาคม 2554 มีดังนี้

สัมผัสวัฒนธรรมอันดีงามและชมการแสดงวิถีชีวิตชาวนา ชาวลาว ชาวมอญ ชาวจีน ชาวมุสลิม การแสดงรำกลองยาว
เลือกชิมขนมพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง และเลือกซื้อสินค้าพื้นเมือง
 ชมการแข่งขัน เช่น ชกมวยทะเล, หมากรุกคน, แข่งขันเรือมาดและเรือยาว
ชมการประกวดหนุ่มสาวรับบัว, ขวัญใจแม่ค้า, ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง, การนวดมือทอง, การทำขนมพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง
ชมขบวนเรือสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ และตลกขบขัน และร่วมถวายดอกบัวบูชาหลวงพ่อโต
เยี่ยมชมและสัมผัสบรรยากาศไทยๆ ริมฝั่งคลองสำโรง พร้อมชิมอาหารอร่อย ณ "ตลาดโบราณบางพลี"
มาเที่ยวกราบไหว้บูชาพระคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย อย่าพลาดโอกาส 1ปี มีครั้งเดียว

การเดินทาง :

รถโดยสารประจำทาง สายบางนา -ตราด รถเมล์สาย 132 ,133 ,365 ,537 ,552 ,553
ต่อรถสองแถวหน้าโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 1
ถนนสายเทพารักษ์ รถเมล์สาย สำโรง - บางบ่อ ,สำโรง -บางปลา,สำโรง - บางพลี เพื่อเข้าวัดบางพลีใหญ่ใน และรถตู้สายบางบ่อ-บางพลี
รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพ ฯ มุ่งหน้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ใช้ถนนสุขุมวิท เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกบางนา จากนั้นใช้ถนนบางนาตราด ขับตรงไปประมาณ 12 กิโลเมตร กลับรถเพื่อตัดเข้าถนนกิ่งแก้ว บางพลี (ประมาณ 2 กิโลเมตร) เลี้ยวซ้าย ถึงวัดบางพลีใหญ่ใน จอดรถยนต์ที่ลานจอดฟรี  เดินเลียบคลองสำโรงไปเรื่อยๆจะถึงตัวตลาดน้ำโบราณบางพลี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เทศบาลบางพลีโทร.02-3373086 , 02-3373934

พิธีขบวนแห่หลวงพ่อโตทางบก

   


พิธีขบวนแห่หลวงพ่อโตทางบก พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย

        วันนี้เป็นที่ 2 ของงานประเพณีรับบัวที่วัดบางพลีใหญ่ใน  ได้จัดขึ้นเนื่องจากเป็นวันอาทิตย์บริษัทหยุดทำงาน  และได้ไปเที่ยวชมงานแต่เช้าเลยลานจอดรถโล่งสบาย  ผมทราบดีว่าถ้าสายกว่านี้หาที่จอดลำบาก  พอดีไปทันเวลา  กำลังอัญเชิญหลวงพ่อโตองค์จำลองเพื่อแห่ทางบกโดยรถยนต์ เริ่มฤกษ์งามยามดีเวลา 08:39 น.  เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้สักการะเพื่อเป็นสิริมงคล  ไปตามถนนบางพลี กิ่งแก้ว   สายบางนา ตราด  และสายเทพารักษ์    ส่วนวันที่ 10 ตุลาคม 2554  จะทำการแห่ขบวนหลวงพ่อโตจำลองทางน้ำในเวลา 08:39 น. เช่นเดียวกัน  ก็ขอเชิญพุทธสานิกชนร่วมกันทำบุญ ตามกำลังจิตศรัทธา

       ทางกรรมการวัดและเจ้าหน้าที่ต่างช่วยกันอัญเชิญหลวงพ่อโตขึ้นสู่ปะรำขบวนแห่โดยรถบรรทุกหกล้อ ที่ประดับและตกแต่งด้วยความสวยงาม โดยมีเจ้ากระต่ายขาวสัตว์ประจำปีเถาะนั่งอยู่ด้านหน้ารถยนต์


































นำขบวนแห่โดยวงโยธวาทิตโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว

ประวัติโดยย่อ
วงโยธวาทิตโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว เริ่มต้นจากมีนักดนตรีและ เครื่องดนตรีประมาณ 30 ชิ้น บรรเลงรับเสด็จฯ แต่งกายด้วยชุดเสื้อราชประแตนสีขาว กางเกงขาสั้นสีดำ หมวกหนีบสีแสด นอกจากนั้นจะบรรเลงตามกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน เช่น กิจกรรมกีฬาสี การบรรเลงเพลงชาติ ตอนเช้า เดินเทิดพระเกียรติฯ และสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน
วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด "อาคารร่มเกล้า" ณ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ซึ่งเป็นนามพระราชทาน โดยมีนายสุขุม ถิราวัฒณ์ และคุณหญิงจันทร์ฟอง ถิราวัตณ์ ทูลเกล้าฯถวายโฉนดที่ดินจำนวน 30 ไร่


 ประชาชนที่มาที่ยวชมงานรับบัวที่วัดบางพลีใหญ่ในและพ่อค้าแม่ค้าต่างพากันมารอร่วมใจกันส่งขบวนแห่หลวงพ่อโตหน้าวัดและทำบุญกันอย่างหนาแน่น

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บริเวณลานแสดงวัฒนธรรมร่วมสืบสานประเพณีรับบัวที่ว่าการอำเภอบางพลี

   

ณ ลานแสดงวัฒนธรรมร่วมสืบสานประเพณีรับบัวที่ว่าการอำเภอบางพลี
ซุ้ม My Friends Shop
           เมื่อได้เวลาสมควร  ผมจึงไปที่ลานแสดงวัฒนธรรมซึ่งจัดขึ้นที่ว่าการอำเภอบางพลี และอยู่ห่างจากวัดบางพลีใหญ่ในประมาณ 500 - 600 เมตร ผมนำรถยนต์จอดไว้ที่ลานจอดของวัดตั้งแต่แรกแล้ว เลยนั่งรถวินมอเตอรไซร์รับจ้างสะดวกกว่า 10 บาท เอง  เมื่อเดินเข้าไปสองฝั่งทางเท้า (ตอนนี้ต้องเรียกทางเท้าเพราะห้ามรถเข้าออก) มีการจัดจำหน่ายสินค้าพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง และสินค้า OTOP มากมายชวนน่าซื้อหา




                   ซุ้มนี้น่าสนใจครับดูจากป้าย มีช่อง 7  NBT  เช้านี้ที่หมอชิต รับประกันความอร่อย   รับสมัครแฟรนไซส์ด้วยนะครับ ใครสนใจ เบอร์โทรดูที่ป้ายได้เลยครับ  
                   ภาพซุ้มจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านและ OTOP ผมขอพักไว้แค่นี้ก่อนแล้วกัน  เดี๋ยวผมมีเวลาจะรวมเว็บภาพไว้ให้ชม




        ถึงแล้วครับด้านหน้าลานวัฒนธรรม  เนื่องจากยังเช้าอยู่และภาพที่ถ่าย  ผมก็รอจังหวะให้ปลอดคน  
















        


        เข้าไปในบริเวณลานวัฒนธรรมด้านขวามือ จะเป็นการแสดงวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวนาของชาวบางพลี จากนักเรียนโรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม  ซึ่งเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่ได้รับการถ่ายทอดหรือรับฟังมาจากคนเฒ่าคนแก่  







                  


      ด้านซ้ายมือ เป็นเวทีประกวดการแสดงของนักเรียนซึ่งเป็นเยาวชน  และจะเป็นกำลังที่ขับเคลื่อนอนาคตของประเทศไทยสืบต่อไป












      ต่อมาก็เป็นการแสดงอัตลักษณ์ไทย  นักเรียนจากโรงเรียนบางพลีราษฏร์บำรุง















     การแสดงย้อนยุคของวิถีชีวิตชาวมอญ โดยโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่งในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณพม่าตอนล่าง ชนชาติมอญเป็นผู้วางรากฐานทางด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี อักษรศาสตร์ สถาปัตยกรรม กฎหมายและนาฏศิลป์ดนตรี เป็นมรดกตกทอดมายังหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เช่น พม่า ไทย ลาว และกัมพูชา






          ไปดูเด็กๆกำลังกระโดดเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนานบริเวณด้านหลังที่ว่าการอำเภอ  ท่าสวยมากครับ น่าส่งเข้าแข่งขันกีฬากระโดดน้ำนะครับมีแวว....

บรรยากาศงานประเพณีรับบัววัดบางพลีใหญ่ในปี2554

   


ภาพบรรยากาศงานประเพณีรับบัวภายในบริเวณวัดบางพลีใหญ่ในปี2554
ซุ้มน้ำตกด้านหน้าทางเข้าโบสถ์วัดบางพลีใหญ่ใน
ประดับได้สวยงามมาก
สะพานข้ามคลองสำโรงด้านวัดบางพลีใหญ่ใน
        บริเวณรอบๆลานวัดมีการจัดจำหน่ายสินค้าพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง และสินค้า OTOP จากหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย  วันหยุดผู้คนจากทั่วสารทิศต่างหลั่งไหล่  มาเที่ยวชมงานทั้งไทยและชาวต่างชาติ ลองชมดูนะครับว่ามีอะไรบ้าง อันนี้แค่น้ำจิ้ม ถ้าอยากชมของจริงต้องไปเที่ยวชมเองยังมีเวลาครับ  ถึงแม้วันโยนบัวจะสิ้นสุดวันที่ 11ตุลาคม 2554 แต่ร้านจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านก็ยังมีจำหน่ายต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ข้าวหลามแม่จำลองเจ้าเก่าดั้งเดิม
อันนี้เฉาก๊วยชากังราว
ปลาทอดกรอบพื้นเมือง
กล้วยฉาบ เผือกเส้นหวาน เผือกเส้นเค็ม จากนครนายก
กาละแมภูมิปัญาจากคนเมืองเพชร

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การแสดงอัตลักษณ์ไทย

   

การแสดงอัตลักษณ์ไทย

        ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบางพลี โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ร่วมสืบสานประเพณี "ประเพณีรับบัว" กับสภาวัฒนธรรมอำเภอบางพลี และองค์กรท้องถิ่น
         อัตลักษณ์ หากแปลตรงตัวจะมาจาก อัต+ลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเฉพาะ คำนี้ราชบัณฑิตยสถาน*ได้ให้ความหมาย ดังนี้ คำว่า อัตลักษณ์ (อ่านว่า อัด-ตะ-ลัก) ประกอบด้วยคำว่า อัต (อัด-ตะ) ซึ่งหมายถึง ตน หรือ ตัวเอง กับ ลักษณ์ ซึ่งหมายถึง สมบัติเฉพาะตัว.   คำว่า อัตลักษณ์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า identity (อ่านว่า ไอ-เด็น-ติ-ตี้) หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น นักร้องกลุ่มนี้มีอัตลักษณ์ทางด้านเสียงที่เด่นมาก ใครได้ยินก็จำได้ทันที. สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง. โลกาภิวัตน์ทำให้อัตลักษณ์ของสังคมไทยเปลี่ยนไป.

                       หากกล่าวถึงอัตลักษณ์สถานศึกษาแล้ว คำว่า อัตลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเฉพาะของสถานศึกษา ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา  เป็นการแสดงอัตลักษณ์ไทย โดยนักเรียนโรงเรียนบางพลีราษฏร์บำรุง เยาวชนของไทย







ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบางพลี
            ตั้งอยู่ในโรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ชั้นบน จัดแสดงภูมิปัญญา และวัฒนธรรมในอดีต ที่มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างคนหลายเชื้อชาติ เช่น คนไทย คนมอญ คนลาว คนจีนและมุสลิม การค้าขายระหว่างชุมชน อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำรงชีวิตชาวบ้าน วิถีชีวิตชาวบ้าน เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องดนตรี เงินตรา เช่น ตลาดน้ำ ประเพณีรับบัว ขบวนเรือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการจับปลา  ชั้นล่าง แสดงแบบจำลองวิถีชีวิตชาวบ้าน



เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์  เวลา 09.00–16.00 น.   ปิดวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์  ไม่เสียค่าเข้าชม 
 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2751 1504-7 (เข้าชมเป็นหมู่คณะทำจดหมายเรียน ประธานศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบางพลี ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์)

การเดินทาง :

         รถโดยสารประจำทาง สายบางนา -ตราด รถเมล์สาย 132 ,133 ,365 ,537 ,552 ,553 ต่อรถสองแถวหน้าโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 1
ถนนสายเทพารักษ์ รถเมล์สาย สำโรง - บางบ่อ ,สำโรง -บางปลา,สำโรง - บางพลี เพื่อเข้าวัดบางพลีใหญ่ใน และรถตู้สายบางบ่อ-บางพลี
รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพ ฯ มุ่งหน้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ใช้ถนนสุขุมวิท เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกบางนา จากนั้นใช้ถนนบางนาตราด ขับตรงไปประมาณ 12 กิโลเมตร กลับรถเพื่อตัดเข้าถนนกิ่งแก้ว บางพลี (ประมาณ 2 กิโลเมตร) เลี้ยวซ้าย ถึงวัดบางพลีใหญ่ใน













วัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวนาอำเภอบางพลี

   

วัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวนาอำเภอบางพลี



           ณ ที่ว่าการอำเภอบางพลีร่วมจัดงานประเพณีรับบัว โดยร่วมสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมของชาวบางพลี ที่ลานวัฒนธรรมแสดง  วิถีชีวิตชาวนาบางพลี  วิถีชีวิตชาวมอญ และชาวลาว









  วิถีชีวิตชาวนา

แสดงโดยนักเรียนโรงเรียนพูลเจริญวิทยาคมบางโฉลง
        เมื่อหวนรำลึกถึงวิถีชีวิตในชุมชนบางพลีเมื่อครั้งอดีตกาล  สิ่งแรกๆ ที่เรามักนึกถึง คือ การทำนา ทำให้ผมได้นึกย้อนกลับไปในสมัยที่ผมยังเด็กอยู่  ซึ่งผมเองก็ยังเกิดทันช่วงปลายของยุคที่ไถนาด้วยควาย  การทำนาเป็นอาชีพดั้งเดิมของชาวบางพลีทั้งนี้เพราะ มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์กว้างไพศาล และมีน้ำเพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม  จึงเอื้ออำนวยต่อการเป็นสังคมเกษตรกรรม การทำนา จึงเป็นอาชีพหลักของคนภูมิภาคนี้ แม้ว่าในปัจจุบันสังคมบางพลีได้เปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญ ตามยุคสมัย กลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ตาม ส่งผลให้กิจกรรมหรือพิธีกรรมบางอย่างลบเลือนหายไป แต่ยังเป็นความทรงจำมิรู้ลืมที่เล่าสืบขานต่อกันมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

วิถีชีวิตชาวนาในชุมชนบางพลี 
     จะใช้ชีวิตอย่างสงบเรียบง่ายเป็นสังคมชนบท มีความเอื้ออาทรต่อกันมาก เพราะมีกิจกรรมและวิถีการผลิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ต้องรวมกลุ่มกัน เช่นการเกี่ยวข้าว การหอบข้าว และการนวดข้าว  ในสมัยนั้นเรียกว่า ออกแขก” 

         ชาวนาต้องมี “กระท่อม” เรือนหลังคามุงจาก ฝาขัดแตะหลังเล็ก สำหรับครอบครัวแรกเริ่มที่มีรูปแบบเรียบง่าย  สามารถสร้างให้เสร็จได้ภายในหนึ่งวัน  โดยใช้ไม้ไผ่ที่มีอยู่ในท้องถิ่นและแรงงานจากชาวบ้านให้ความร่วมมือ  ยกเรือนขึ้นสูงพอควร เพื่อเก็บอุปกรณ์ทำมาหากินและทำกิจกรรมไว้ใต้ถุนบ้าน การแบ่งส่วนเรือนแสดงให้เห็นถึงการขยายขนาดของครอบครัว และมีสมาชิกเป็นเด็กอ่อน



             ส่วนเรือนสามช่วงเสาสองหลัง เชื่อมด้วยชานมีครัวไฟแยกต่างหากหลังคามุงจากและกระเบื้องสำหรับครอบครัวผู้มีฐานะ  ในบริเวณเรือนมียุ้งเก็บข้าวเปลือกและอุปกรณ์การทำนาเมื่อเริ่ม หว่านข้าว ดำนา  จะพบปลาอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในนาข้าว ดังนั้น  ต้นกล้าและปลาจะเติบโตไปพร้อมๆกัน และปลาในลำคลองบางส่วนก็จะเข้ามาอาศัยในบ่อ  ในสมัยนั้นทุกบ้านจะมีบ่อสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง



            เมื่อมีความรู้สึกว่าปลาเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก จะนำเฝือกมาปิดปากบ่อไว้ เพื่อกันไม่ให้ปลาออกไปข้างนอก  เมื่อน้ำในลำคลองลดระดับลง  ชาวนาจะนำดินมาปิดกั้นปากบ่อ  และถ้าต้องการนำปลามาเป็นอาหารหรือต้องการมีรายได้  ก็ตั้งรหัสวิดน้ำในบ่อนา  และจับปลานานาชนิดที่รวมกันอยู่ในบ่อ  เพื่อนำมาทำอาหารและตากแห้งเก็บไว้บริโภคในฤดูแล้ง  และฤดูทำนาปีถัดไป  ถ้ามีจำนวนมากก็อาจจะนำออกขายหรือแลกเป็นสิ่งของเครื่องใช้อย่างอื่นที่จำเป็น


       โดยส่วนใหญ่แล้วชาวนาจะใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบเงียบในชนบท และมีความสุขกับการทำนา ที่จริงแล้วชาวบางพลีมีการทำเกษตรภายใต้พระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัว ปลูกพืชผักครัวเรือนไว้หลังบ้าน ทำทุกอย่างให้มีกิน เหลือกินจึงค่อยแบ่งขาย  ในสมัยนั้นชาวบางพลีทุกครัวเรือนใช้วิถีชีวิตอยู่กับน้ำ บ้านแต่ละหลังจะถูกยกให้สูงขึ้นจากพื้นดิน จึงเรียกว่าเรือนเพราะเวลาฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี การสัญจรต้องใช้เรือพาย คนไทยให้ความสำคัญกับชาวนาเปรียบประหนึ่งว่า  ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ



                                                                  เหลียวหลังแลบางพลีวิถีไทย
                                                                         ทุ่งรวงทองอร่ามใสงามสมศรี
                                                                         อีกทั้งพืชพรรณดาษดื่นชื่นฤดี
                                                                         ปฐพีและธารน้ำอันอุดม
                                                                               มองท้องนาคราฉ่ำฝนล้นปลาบปลื้ม
                                                                        ใจด่ำดื่มข้าวเขียวสดดูเหมาะสม
                                                                         สีอ่อนแก่แลริ้วริ้วพลิ้วพร่างพรม
                                                                         งามวิไลน่าชมเกษตรกรรม
                                                                               งานหว่านดำหลังสู้ฟ้าน่าพันผูก
                                                                        นามกระดูกสันหลังชาติช่างคมขำ
                                                                        อยู่กันอย่างเรียบง่ายควรจดจำ
                                                                        ขอแนะนำสังคมเก่าชาวบางพลี...























ขอขอบคุณข้อมูลจากโรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม
                 โรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม ตั้งอยู่ที่ ซอยวัดบางโฉลงใน  ตำบลบางโฉลง  อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ